“วันคริสต์มาส” แจก 7 เมนูไทยธีมแดง อร่อยฟินรับเทศกาล
“วันคริสต์มาส 2023” เปิดที่มาของเทศกาลที่ทั่วโลกต่างรอคอย
“วันคริสต์มาสอีฟ” คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับ “วันคริสต์มาส”
ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้นอกจากเทศกาลปีใหม่แล้ว บ้านเราก็ยังได้สัมผัสอีกเทศกาลหนึ่ง นั่นก็คือ “เทศกาลวันคริสต์มาส” (Christmas) ซึ่งเป็นเทศกาลที่เหมาะสำหรับจัดปาร์ตี้กับครอบครัวและเพื่อนๆ
แบบนี้แล้วก็ต้องหาอาหารมาจัดปาร์ตี้ฉลองสักหน่อย! แต่จะหา “ไก่งวง” หรือ “คริสต์มาสพุดดิ้ง” มาแบบชาวต่างประเทศ อาจจะยาก
วันนี้ นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงได้รวบรวมเมนูไทยธีมแดงมาฝากทุกคนกัน เผื่อไว้เป็นไอเดียนำไปเลี้ยงฉลองวันคริสต์มาส แต่จะมีเมนูอะไรบ้างมาดูกัน!
7 เมนูไทยธีมแดง ฉลองวันคริสต์มาส
ผัดหมี่กะทิ
ผัดหมี่กะทิ หรือที่บางคนเรียกกันว่า “ผัดหมี่สีชมพู” ถือเป็นรากวัฒนธรรมอาหารจานเดี่ยวของไทยในยุคก่อนทีเดียว เมื่อก่อนตัวเส้นจะมีสีแดงเรื่อๆ จากมะเขือเทศ แต่ก็ถูกประยุกต์ต่อมาเรื่อยๆ เริ่มนำซอสเย็นตาโฟมาใส่เพื่อให้ออกมาเป็นสีชมพูพาสเทลๆ สวยงามแบบที่เห็น
ผัดหมี่เป็นอาหารที่นิยมในสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นหมี่แห้งที่ปรุงด้วยการผัดเส้นหมี่เข้ากับน้ำซอสรสจัดที่ปรุงไว้ ส่วนในประเทศไทยเรียกว่า “หมี่กะทิ” เป็นอาหารที่นิยมในภาคกลาง โดยเป็นการผัดเส้นหมี่เข้ากับซอสที่ทำมาจากกะทิ ใส่หมู เต้าเจี้ยว น้ำมะขามเปียก และอาจแต่งสีด้วยซอสเย็นตาโฟเป็นการปิดท้าย แต่ถ้าอยากทำตามสูตรดั้งเดิม หรือให้เข้ากับธีมคริสต์มาสด้วยแล้วล่ะก็ แนะนำให้แต่งสีด้วยซอสแดง หรือซอสมะเขือเทศ
ต้มยำกุ้ง
ต้มยำกุ้งเป็นอาหารไทยภาคกลาง แต่ด้วยเอกลักษณ์ของรสชาติที่มีครบรส ทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน และที่ขาดไม่ได้คือกลิ่นหอมของสมุนไพรสดทั้งข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู จึงทำให้เป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย
แม้จะไม่มีหลักฐานบ่งบอกถึงจุดกำเนิดของอาหารชนิดนี้อย่างแน่ชัด แต่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนถึงต้มยำกุ้งไว้ว่า เมื่อรับ “ข้าวเจ้า” จากอินเดีย เข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามัน และศาสนาพราหมณ์-พุทธ ทำให้กับข้าวเปลี่ยนไปเริ่มมีน้ำแกงเข้ามาหลากหลาย ทั้งน้ำแกงข้นใสแบบอินเดีย กับน้ำแกงใสแบบจีน
ด้วยเหตุนี้ ต้มยำกุ้ง จึงมี 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใสและต้มยำน้ำข้น นิยมเอาไว้รับประทานคู่กับข้าวสวย
น้ำพริกตาแดง
น้ำพริกตาแดงเป็นอาหารคู่ครัวของภาคเหนือ สมัยก่อนนิยมใส่ถั่วเน่าแข็งลงไปด้วย แต่ปัจจุบันถั่วเน่าหาได้ยากจึงไม่ได้ใส่
น้ำพริกตาแดงจะมีลักษณะเหนียวข้น เป็นอาหารที่ปรุงง่าย ถือว่าเป็นตัวชูรสในมื้ออาหาร มีส่วนประกอบหลักๆ คือ เกลือ กระเทียม หอมแดง ปลาแห้ง น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา มะขามเปียก และพริกแห้ง ซึ่งเป็นเครื่องปรุงที่หาได้ง่ายในครัว และมักเสิร์ฟคู่กับผักสด
ไก่ย่างไม้แดง
ไก่ย่างเป็นอาหารภาคอีสานและอาหารยอดนิยมของคนไทยตั้งแต่โบราณ
ใช้รับประทานเป็นได้ทั้งอาหารจานหลัก อาหารว่าง หรือกับแกล้ม แต่ในแต่ละพื้นที่จะมีสูตรเฉพาะแตกต่างกันไป
สำหรับไก่ย่างแดง มีให้เห็นโดยทั่วไป โดยส่วนผสมหลักที่ใช้หมักไก่ ได้แก่ น้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม สามเกลอ และสีผสมอาหารสีส้ม ซึ่งหาได้ไม่ยาก แถมยังมีขายให้ซื้อกันได้ตามตลาดไม้ละ 10 บาท
ประกอบกับรสชาติของไก่ที่หวานนิดๆ เนื้อนุ่ม และหอมกรุ่นด้วยกลิ่นเครื่องเทศ กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ รับรองว่าฟินสุดๆ ในวันคริสต์มาสนี้ถ้าหาเมนูไหนไม่ได้ เมนูนี้จึงถือว่าไม่ควรพลาด เพราะทั้งทำง่าย หาได้ง่าย และยังอร่อย
แกงพะแนง
พะแนง เป็นอาหารไทยประเภทแกงข้นที่เน้นรสชาติเค็มและหวาน โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกงคือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า กระเทียม อบเชย และเกลือ ใส่เนื้อสัตว์ได้ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และอื่น ๆ
เท่าที่พบ พะแนง ปรากฏครั้งแรกในหนังสือ “ตำรากับเข้า” ของหม่อมซ่มจีน ราชานุประพันธ์ ภรรยาคนหนึ่งของพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) ตีพิมพ์เมื่อ ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ในเวลานั้นสะกดว่า “ผะแนง” โดยมีอาหารชื่อ "ไก่ผะแนง" (ไก่พะแนง) คือ ไก่ทาพริกขิง (เครื่องพริกแกง) ที่ผสมน้ำกะทิ แล้วนำไปย่างไฟ ต่อมาการทำไก่พะแนงแบบนั้นอาจไม่สะดวก เพราะต้องกินเวลานานมาก จึงได้ย้ายเปลี่ยนมาเป็นเป็ดหรือไก่สับชิ้นโต ๆ เอาลงผัดกับเครื่องแกงและกะทิ กลายเป็น “ไก่พะแนง” หรือ “เป็ดพะแนง” อย่างที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
กล้วยเชื่อมแดง
กล้วยเชื่อมแดง เมนูขนมไทยที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน การเชื่อมเป็นวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าแล้ว
แต่ที่เราอยากหยิบยกเมนูนี้มาเพราะนอกจากความอร่อย เรายังอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ขนมไทยหายากนี้ไว้ด้วย เพราะอีกสิ่งที่น่าทึ่งคือแม้เมนูนี้จะหากินได้ยากแล้ว แต่กลับทำง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
เพียงแค่เอากล้มน้ำว้าห่ามมาต้มลงในน้ำเดือด แล้วใส่น้ำตาลปี๊บลงไป จนกล้วยเริ่มเปลี่ยนสี เสร็จแล้วใส่มะนาวต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลตกผลึก จากนั้นเมื่อน้ำเริ่มงวด ให้ปรับไฟให้อ่อนลง เชื่อมต่อจนกล้วยเป็นสีแดง เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีเนื้อแน่นและเมื่อได้นำมาเป็นเมนูขนมหวาน ยิ่งอร่อย แต่มีความพิเศษที่ไม่เหมือนกล้วยชนิดไหน คือ กล้วยน้ำว้าแบบห่าม จะมีสารให้ความฝาด ที่สามารถเปลี่ยนเป็นสีแดงได้เมื่ออยู่ในสภาวะเป็นกรดและโดนความร้อนนานๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเราเชื่อมไปเรื่อยๆ จึงกลายมาเป็นเมนูขนมไทย ที่ชื่อว่า “กล้วยเชื่อมแดง” นั่นเอง
จ้ำบ๊ะน้ำแดง
จ้ำบ๊ะน้ำแดง หรืออีกชื่อที่เรารู้จักกันในนาม “น้ำแข็งไส” เป็นเมนูอาหารว่างสุดฮิต ที่แม้จะยังไม่มีที่แน่ชัดว่า “ขนมจ้ำบ๊ะ” กับ “น้ำแข็งไส” เชื่อมกันได้อย่างไร แต่ผู้คนก็นิยมมาก เพราะเหมาะกับอากาศอุ่นๆ ในเมืองไทยไม่น้อย
สำหรับที่มาของเมนูนี้ มีความคิดเห็นจากกระทู้หนึ่งในห้องราชดำเนินบนเว็บไซต์พันทิป เคยตั้งข้อสังเกตถึงที่มาที่ไปของชื่อขนมหวานชนิดนี้ว่า อาจมาจากงานรื่นเริงที่มักจะมีน้ำแข็งไสหรือขนมหวานประเภทเดียวกันวางขาย ประกอบกับในงานเหล่านี้จะมีการเต้นจ้ำบ๊ะ จึงเกิดการเชื่อมโยงในขั้นตอนของการราดนมข้นหวานกับการเต้นจ้ำบ๊ะ ที่ต้องอาศัยการ “ใส่นม” เหมือนกัน
อย่างไรก็ตามข้อสังเกตนี้ยังคงไม่มีหลักฐานรองรับและไม่ปรากฏหลักฐานการวิจัยอื่น ๆ
แต่ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขแบบนี้ ใครอยากเติมความสดชื่น ต้องลองเมนูนี้กันแล้ว เพียงแค่นำน้ำแข็งก้อนใหญ่มาไสจนเป็นเกล็ด แล้วอัดลงในถ้วยหรือแก้วตามใจชอบ ราดด้วยน้ำหวานอย่างน้ำแดง นมข้นหวาน พร้อมกับขนมอื่น ๆ อาทิ ลอดช่อง เผือก ลูกชิด ทับทิมกรอบ ฟักทองเชื่อม หรืแเฉาก๊วย เป็นต้น ก็อร่อยแล้วคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย
หรือถ้าไม่มีเวลา ก็สามารถหาซื้อได้ตามรถเข็น แผงลอย รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า
ไอเดียพร้อม อุปกรณ์พร้อม ก็ไปร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขนี้ร่วมกับคนที่คุณรักกัน! สุขสันต์วันคริสต์มาส
ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอชาวบ้าน, วิกิพีเดียและ สถาบันอาหาร
10 ไอเทม “ของแต่งบ้านช่วงคริสต์มาส” ต้อนรับการเฉลิมฉลอง!
125 แคปชัน-คำอวยพร "วันคริสต์มาส2023" คนโสด คนมีคู่ อวดขึ้น Social